บริการกฎหมายมรดก

BBL ให้บริการ คดีความด้านกฎหมายมรดก ไม่ว่าจะเป็น การทำพินัยกรรม การจัดการทรัพย์สิน สิทธิมรดก

การจัดการมรดกเป็นสิ่งที่เราทุกคนเห็นเป็นเรื่องไกลตัว ทำให้การจัดสรรมรดก หรือการจัดการมอบอำนาจต่างๆ รวมไปถึงการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับมรดกเป็นเรื่องที่หลายคนคิดว่าทำความเข้าใจได้ยาก เพราะฉะนั้นก็ควรหาข้อมูลไว้ด้วย แต่จะเริ่มหาจากไหนดี บทความนี้มีคำตอบ เพียงตั้งคำถามกับตัวเอง 9 คำถาม คุณสามารถจัดการมรดกได้เลย

1. ผู้จัดการมรดกมีอำนาจอะไร

  • ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะจัดการอันจำเป็นเผื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งในพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก (ป.พ.พ.ม. 1719)
  • ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่เริ่มมีหน้าที่จัดการมรดก แต่กำหนดนี้ ผู้จัดการมรดกอาจขอขยายก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน ศาลจะอนุญาตให้ขยายต่อไปอีกก็ได้ (ป.พ.พ.ม 1729)

2. จำเป็นต้องมีทนายความหรือไม่

  • กรณีที่ไม่มีข้อพิพาท คือ ไม่มีผู้คัดค้านการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่จำเป็นต้องมีทนายความ สามารถไปติดต่อขอนิติกรของแต่ละศาลได้เลย
  • กรณีมีข้อพิพาท จำเป็นต้องมีทนายความ เพื่อเตรียมข้อกฎหมายและเอกสาร

3. การร้องขอจัดการมรดก กฎหมายกำหนดเงื่อนไขสำคัญต่างๆไว้อย่างไรบ้าง

กฎหมายกำหนดเงื่อนไขสำคัญไว้ว่า เมื่อบุคคลใด (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตาย ทรัพย์ มรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาททันที (ป.พ.พ. มาตรา 1599 – 1600) ในกรณีที่ทายาทของบุคคลนั้นไม่สามารถจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ เช่น ธนาคารไม่ยอมให้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ตาย หรือสำนักงานที่ดินไม่ยอมเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้ ทายาท หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็จำต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แล้วนำไปแบ่งปันให้แก่ทายาท

4. ผู้จัดการทรัพย์มรดกต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

  • ตามกฎหมาย (ป.พ.พ. มาตรา 1718) กำหนดคุณสมบัติของผู้จัดการทรัพย์มรดกไว้ ดังนี้
  • ต้องบรรลุนิติภาวะ (หรือมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์)
  • ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และ
  • ต้องไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

5. ใครเป็นผู้มีสิทธิยื่นขอจัดการมรดกได้บ้าง

ผู้มีสิทธิยื่นขอจัดการมรดกต้องเป็นทายาท หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรืออัยการ

  • ทายาท แบ่งเป็น ผู้รับพินัยกรรม และทายาทโดยธรรม ส่วนคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายที่ยังมีชีวิตอยู่ ถือว่าเป็นทายาทโดยธรรม
  • ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง ผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับกองมรดก เช่น ภริยาที่มิได้จดทะเบียนสมรส แต่มีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกับเจ้ามรดก
  • พนักงานอัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ เช่น กรณีที่มรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ที่ไม่มีญาติ และผู้ปกครอง หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก

** หมายเหตุ บุคคลดังกล่าวข้างต้นจะร้องขอการจัดการทรัพย์มรดกได้ จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อไขในบทบัญญัติตาม ป.พ.พ มาตรา 1713 ด้วย

6. จะต้องไปยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกที่ศาลไหน

  1. ตามกฎหมาย (ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา) กำหนดว่า
  2. ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะที่ถึงแก่ความตาย
  3. ศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่ในเขตศาลนั้น กรณีเจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร

7. จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องขอกับผู้ตาย เช่น ทะเบียนสมรส หรือสูติบัตร เป็นต้น
  • ใบมรณบัตรของผู้ตาย
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ตาย
  • หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์มรดก เช่น โฉนดที่ดิน, สมุดเงินฝากธนาคาร, ทะเบียนรถ ฯลฯ
  • บัญชีเครือญาติ
  • หนังสือแสดงความยินยอมของทายาทให้ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
  • ในกรณีร้องขอให้บุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดกต้องมีหนังสือยินยอมของบุคคลนั้น
  • พินัยกรรม (ถ้ามี)
  • ใบเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ หรือนามสกุล

8. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเท่าไหร่

ค่าใช้จ่ายในวันยื่นคำร้อง
• ค่าขึ้นศาล 200 บาท
• ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท ค่าใช้จ่ายในวันนัดไต่สวน
• ค่าถ่ายเอกสารคำสั่งศาล
• ค่ารับรองสำเนาถูกต้อง ฉบับละ 50 บาท ค่าใบสำคัญเพื่อแสดงความคำสั่งถึงที่สุด ฉบับละ 50 บาท

9. ใช้ระยะเวลาดำเนินการเท่าไร

นับแต่วันที่ได้ยื่นคำร้องขอจัดการมรดก ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่เกิน 45 วัน ซึ่งในวันนัดผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องไปศาลพร้อมพยานหลักฐานต่างๆ (ต้นฉบับเอกสารต่างๆ ถ้ามี) ใช้เวลาในการไต่สวนประมาณครึ่งชั่วโมง